ทำไมเราถึงต้องการชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง มาใช้ในประเทศ และความเกี่ยวข้องในมุม UX

Pij Pruxus
22 Jul 2021

2k

ช่วงนี้เราจะได้ยินเรื่องการนำชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง หรือ Rapid Test มาใช้กันบ่อยมากนะครับ ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่หมอหลากหลายที่แนะนำให้นำเข้ามาใช้กันให้เร็วที่สุด และก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ประเทศนำมาใช้กันซักพักแล้วเพื่อช่วยให้สถานการณ์การระบาดของโควิดดีขึ้นด้วย ซึ่งถ้าเรามาลองมองในมุมเรื่อง UX และ usability แล้วจะพบว่าชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สอดคล้องกับหลักการ Heuristic Evaluation ข้อที่ 1 หรือ “Visibility of System Status” โดยตรง ๆ เลยครับ บทความนี้เราจะมาวิเคราะห์เรื่องชุดตรวจโควิดนี้ ในมุม Visibility of System Status นี้ครับ

(หมายเหตุ: ถ้าใครยังไม่ทราบว่า Heuristic Evaluation คืออะไร สามารถดู live ย้อนหลังที่เพจพรักซุสได้ครับ

เสวนา UX เรื่อง Heuristic Evaluation:

ชม บน Facebook https://www.facebook.com/events/3155068184562007/

 

หลักการข้อ 1 ของ Heuristic Evaluation คือ “Visibility of System Status”

ในการออกแบบระบบต่าง ๆ ข้อนึงที่สำคัญมาก คือ เราต้องพยายามมีสิ่งที่เรียกว่า Visibility of System Status หรือ การแสดง information ที่สื่อให้เห็น สถานะปัจจุบัน ที่ users ต้องการให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ครับ ซึ่งคำว่า “สถานะ” ในที่นี้นั้น หมายถึง information ที่ users ของเราต้องการรู้มากที่สุด ณ เวลาปัจจุบันนี้

 

ถ้ายกตัวอย่าง Visibility of System Status รอบตัวเรา ก็เช่น เวลาที่เรารอรถโดยสารต่าง ๆ สถานะ อย่างนึงที่เราต้องการรู้ตลอด ก็คือ ระยะเวลาที่เราต้องรอ ใช่ไหมครับ ว่าอีกนานแค่ไหนกว่ารถจะมา ซึ่งสถานี MRT ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการมี Visibility of System Status

 

Visibility of System Status เวลาที่ยืนรอรถ MRT — สถานะ หรือ information ที่คนต้องการ ณ เวลาที่ยืนรอรถ ก็คือ ชั้นต้องรออีกนานแค่ไหน ซึ่งถ้าระบบสามารถบอกสถานะนี้ได้ ก็จะช่วยให้ users อุ่นใจขึ้น และรู้ว่าควรต้องทำอะไร (เช่น ยืนรอเตรียมขึ้นรถ หรือยืนชิลดูหนังในมือถือต่อ หรือขึ้นไปหาแทกซี่ดีกว่า ถ้าต้องรอนานมากเกินไป)

เสวนา UX หัวข้อ Visibility of System Status

ชมบน Facebook https://www.facebook.com/events/2794701800818305/

Information ที่เพียงพอ คือสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คน “ตัดสินใจ” เพื่อ “take actions” ได้ถูกต้อง

Information นั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์รับเข้ามาอยู่ตลอดเวลาครับ ไม่ว่าจะทางการมองเห็น หรือประสาทสัมผัสอื่น ๆ (แม้แต่พวกรสชาติ กลิ่น ก็ถือเป็น information ที่รับเข้ามาเหมือนกัน) สาเหตุหลักที่มนุษย์ต้องการ information ก็คือเพื่อช่วยในการ “ตัดสินใจว่าควรจะต้อง take actions” อะไรต่อไปได้อย่างถูกต้องนะครับ ยิ่งมี information มากเท่าไหร่ มันก็ช่วยให้มนุษย์เราตัดสินใจได้ดีขึ้นเท่านั้น

ถ้าพูดถึงการได้ information มาช่วยการตัดสินใจ บางคนอาจจะไปนึกถึงการเล่นหุ้น เพราะถ้าเรารู้เกี่ยวกับบริษัทที่เราจะไปซื้อหุ้นดีเท่าไหร่ เราก็ยิ่งน่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นเท่านั้น (หรือแม้แต่การซื้อหวย ที่เราต้องการ information คือเลขเด็ดที่น่าจะออกในงวดนี้นะครับ -_-)

แต่จริง ๆ แล้วถ้าเราย้อนกลับมาดูตัวเรา แทบจะทุก action ที่คนเราทำ มันคือผลลัพธ์ที่เกิดจาก information ที่เราได้รับ และนำไปประมวลผลเพื่อหา actions ที่ดีที่สุด แทบทั้งนั้นครับ ยิ่งเราได้รับ information ที่แม่นยำ และทันท่วงทีเท่าไหร่ เรายิ่งสามารถ ตัดสินใจ และ take actions ได้แม่นยำขึ้นเท่านั้น เช่น การที่เรารู้ว่าวันนี้อากาศเป็นยังไง จะมีพายุเข้าไหม ก็จะส่งผลต่อการวางแผนการเดินทางไปทำงาน และสามารถหลบฝนให้เราไม่เปียกได้ดีขึ้น หรือแม้แต่การช้อปปิ้งซื้อของต่าง ๆ ในทุกวันนี้ คนเราก็มักจะไปหาอ่านรีวิว หรือไลน์ถามคนรู้จักเพื่อให้เค้าแนะนำสินค้าให้เราเป็นประจำทั้งนั้น ก็เพราะว่าเราต้องการ information เพื่อช่วยให้เราตัดสินใจเลือกของที่เหมาะสมกับเรา ทั้งนั้นครับ รวมไปถึงเรื่องสุขภาพ ที่คนเราชอบอ่านบทความหรือแมสเสจที่ส่งต่อมาในไลน์ ว่าเราควรต้องกินอะไร ดูแลตัวเองยังไง พวกนี้ก็คือ information ที่ส่งผลต่อ actions ของเราทั้งนั้นครับ

เมื่อมี information ไม่เพียงพอและมาไม่ทันท่วงที มนุษย์เราจะไม่สามารถ take actions ที่ถูกต้องได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงตามมา

ปัญหาหลักที่ทำให้โควิด-19 กลายเป็นโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษนี้ ก็คือเรื่อง Visibility of System Status

ปัญหาหลักของโรคโควิด-19 ที่ทำให้มันเป็นโรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลกได้ คือ ความซ่อนแอบของไอ้เจ้าไวรัส Sars-Cov-2 นี้ ที่มันแอบฟักตัวในตัวมนุษย์เราอยู่นานหลายวัน โดยเราไม่มีทางรู้เลยนะว่าเราติดเชื้อไปหรือยัง และช่วงที่มันฟักตัวอยู่ เราจะไม่มีอาการใด ๆ แต่เราก็สามารถแพร่เชื้อไปให้คนรอบตัวไปได้แล้ว ทำให้กว่าที่เราจะเห็นอาการของโรคว่าใครติดโควิด ก็ช้าเกินกว่าที่เราจะ take actions ที่เหมาะสมไปแล้วเพราะเราอาจจะแพร่เชื้อให้คนอื่นไปหลายคนแล้ว

 

จากรูปจะพบว่า ในขณะที่อาการของโรคอาจจะออกณ วันพุธ แต่เราสามารถแพร่เชื้อโควิดให้คนรอบตัวได้ตั้งแต่วันจันทร์ไปแล้ว จากการวิจัยพบว่า 44% ของผู้ป่วยโควิด สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ก่อนที่จะเริ่มมีอาการป่วยขึ้นมา https://medical.mit.edu/covid-19-updates/2020/07/how-long-symptom-onset-person-contagious

ถึงโควิดจะไม่ใช่โรคที่รุนแรงที่สุด เช่น ถ้าเราไปเทียบกับโรคระบาดอื่นอย่าง SARS, MERS หรือ อีโบล่า ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ามาก ๆ แต่จุดที่สำคัญคือ โรคเหล่านี้มันออกอาการเร็วกว่ามาก เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อ อาการจะมาเร็วกว่าโควิดมาก ซึ่งทำให้คนรอบตัวรวมทั้งผู้ป่วยเอง รู้ได้ทันท่วงทีว่าตอนนี้ตัวผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ ทำให้สามารถ take actions ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของโรคได้ทันท่วงที จึงทำให้โรคเหล่านี้ถูกควบคุมได้ง่ายกว่าครับ

ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างนึงก็คือ “อาการของโรค” ที่ตัวผู้ป่วยแสดงออกมานั้น มันทำหน้า เป็น information ที่บอกกับตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง ว่าคนคนนี้มีเชื้อและสามารถแพร่เชื้อได้ ซึ่ง information นี้มันเลยช่วยให้ตัวผู้ป่วยและคนรอบตัว รวมไปถึงหมอ สามารถ take actions ได้รวดเร็วทันท่วงที และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ทัน ก่อนที่ไวรัสจะแพร่กระจายออกไปได้

 

จะเห็นได้ว่า อัตราการเสียชีวิตจากอีโบล่า MERS หรือ SARS นั้นสูงกว่าโควิด-19 มาก ๆ แต่ทั้งสามโรคนั้นก็ยังไม่ได้ก่อให้เกิดความหายนะเท่าที่โควิดกำลังเป็นอยู่ในทุกวันนี้ เพราะว่ามันมีอาการของโรค หรือ informationที่ชัดเจนและมาไวกว่าครับ https://www.bloombergquint.com/opinion/how-bad-is-the-coronavirus-let-s-compare-with-sars-ebola-flu

ซึ่งจะเห็นได้ว่า นี่คือความน่ากลัวของโรค Covid-19 นะครับ เพราะมันลด information ลงและทำให้ information มาช้าจนไม่ทันท่วงที เลยทำให้มนุษย์ ไม่สามารถ take actions ที่ถูกต้อง ได้ทันท่วงที ซึ่งก่อให้เกิดการระบาดอย่างมหาศาลเหมือนทุกวันนี้

ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาเรื่อง information ที่ไม่เพียงพอและมาไม่ทันท่วงที ก็คือการทำไงก็ได้ให้เราได้ information เกี่ยวกับสถานะการติดเชื้อโควิดของคนในสังคม โดยเฉพาะที่คนที่มีความเสี่ยง ให้เร็วที่สุดนะครับ ซึ่งมันก็ต้องพึ่งพาการตรวจโควิดด้วยวิธีต่าง ๆ ครับ

 

การตรวจโควิดด้วยวิธีมาตรฐาน “RT-PCR “— ช่วยให้ได้ information แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องความทันท่วงที

ปัจจุบัน วิธีการตรวจหาเชื้อโควิดที่เป็นมาตรฐานคือ RT-PCR test (real-time reverse transcription polymerase chain reaction — หรือ บางคนเรียกว่าการตรวจแบบ swap) ที่เค้าใช้ไม้จิ้มจมูกเพื่อป้ายเอาของเหลวไปตรวจหายีนส์ของไวรัส Sars-Cov-2 ต่อครับ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงที่สุด ณ เวลานี้

วิธีการ RT-PCR ที่เป็นมาตรฐาน ภาพประกอบจาก https://inflammregen.biomedcentral.com/articles/10.1186/s41232-020-00147-2

ถึงแม้ว่าวิธี RT-PCR จะเป็นมาตรฐานทุกวันนี้ก็ตาม แต่มันต้องใช้เวลาในการตรวจถึง 24–48 ชั่วโมง ซึ่งมันใช้เวลานานมาก มีราคาที่แพง (มีราคาตั้งแต่ 2,000 กว่าถึง 4,000 กว่า) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงมันจะช่วยให้ได้ information ได้ แต่ในเรื่องความทันท่วงที ก็ยังไม่ได้ดีขนาดนั้นนะครับ (ใช้เวลานานพอควร) แถมราคาที่คนหลาย ๆ กลุ่มในสังคมอาจจะเข้าถึงไม่ได้ง่ายด้วย ซึ่ง ณ เวลานี้ การตรวจ RT-PCR ในบ้านเราก็ยังมีจำนวนที่ตรวจได้ต่อวันที่จำกัด (เพราะมันต้องใช้เวลามากกว่าและต้องวิเคราะห์ผลในแล็บด้วย) มันเลยทำให้คนหลายคนไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่าย ซึ่งก็ทำให้ปัญหาเรื่อง Visibility of System Status ยังคงมีอยู่มากครับ

 

ความยากในการเข้าถึงการตรวจโควิดแบบ RT-PCR https://www.youtube.com/watch?v=HWRD4r1I5eU

และยังปัญหาในเรื่องที่ว่า ถึงเราตรวจ RT-PCR วันนี้ไม่เจอเชื้อ ก็ไม่ได้แปลว่าเราปลอดเชื้อโควิด 100% ครับ อาจจะเป็นไปได้ว่าเชื้อมันยังฟักตัวอยู่เลยมีปริมาณน้อยมากจนตรวจไม่เจอก็เป็นได้ (ซึ่งมักจะเป็นช่วงประมาณ 1–5 วันแรกหลักจากผู้ป่วยไปสัมผัสกับคนที่มีเชื้อมา) ดังนั้นเค้าจึงแนะนำว่า ถ้าเราเป็นกลุ่มเสี่ยง เราควรจะมีการตรวจอีกทุก ๆ 3–5 วันต่อมา เพื่อให้มั่นใจว่าเราไม่ได้ติดเชื้อไปแล้วจริง ๆ ครับ ซึ่งถ้าตรวจ 2–3 ครั้ง กลายเป็นต้องใช้เงินเป็นหมื่นต่อคนได้ ทำให้แทบจะไม่มีใครทำการตรวจแบบนั้นจริง ๆ ครับ

 

แล้ว Rapid Test คืออะไร

Rapid Test นั้น เป็นชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองที่ราคาถูกกว่า RT-PCR มาก ๆ (ตั้งแต่ไม่กี่สิบบาทที่ขายที่ต่างประเทศ หรือในบ้านเราที่เริ่มขายคือ 2–600 บาทโดยประมาณ) และยังสามารถช่วยให้เรา test ว่าเราติดโควิดหรือไม่ด้วยตัวเองได้จากที่บ้าน โดยมีทั้งแบบป้ายของเหลวจากในจมูก และแบบเจาะเลือดปลายนิ้วครับ โดยเมื่อป้ายของเหลว/เจาะเลือดแล้ว จะต้องนำไปหยดลงในตลับที่จะมีน้ำยาที่ทำปฏิกริยาถ้าพบเชื้อโควิด และจะแสดงผลขึ้นมาเป็นเส้น (คล้าย ๆ การทำงานของชุดตรวจตั้งครรภ์) ซึ่ง Rapid Test นั้นใช้เวลาแค่ 15 นาทีก็สามารถรู้ผลได้แล้ว และจะเห็นได้ว่า Rapid Test นั้น มันช่วยให้เราได้รับ information ที่ทันท่วงที กว่า RT-PCR test มากนะครับ ซึ่งช่วยให้แก้ปัญหาในเรื่อง Visibility of System Status ได้ดียิ่งขึ้นไปอีกนั่นเองครับ

 

ภาพประกอบจาก https://www.dailynews.co.th/news/51384/

ถึง Rapid Test จะถูกกังขาในเรื่องความแม่นยำที่น้อยกว่า RT-PCR แต่อย่างนั้นมันก็ช่วยให้คนจำนวนมากเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น และใช้เวลาน้อยลงมาก ๆ ซึ่งก็จะช่วยให้คนได้รับ information ที่ทันท่วงทียิ่งขึ้น และคนก็จะสามารถ take actions ได้ดียิ่งขึ้น และส่งผลต่อการรีบป้องกันตัวเองและคนรอบข้างได้มากขึ้นนั่นเองครับ

 

นอกจากนี้ information ที่ไม่เพียงพอ ยังก่อให้เกิด ”ความกลัว” ที่ส่งผลเสียที่มากกว่าแค่ความรู้สึก

เชื่อว่าหลายคนที่เคยกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโควิด ล้วนแต่ต้องเคยประสบกับ ความรู้สึกเครียดและความกลัว กันมาบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ความกลัวของคนเรานั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คนเราเกิดความกลัวนั้นก็คือ ความกลัวที่มาจากความไม่รู้ (Fear of the unknown) หรือพูดง่าย ๆ คือ ความกลัวที่มาจากการที่เรามี information ที่ไม่เพียงพอ นั่นเองครับ

Photo by engin akyurt on Unsplash

จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ความเครียดและความกลัวนั้น มันส่งผลต่อสุขภาพของคนเราโดยตรงครับ เพราะเมื่อไรก็ตามที่คนเรามีความเครียด/ความกลัวสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ มันจะ ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเราแย่ลง เราจึงมักจะป่วยง่ายขึ้นเวลาที่เราเครียดหรือมีความกลัวอยู่ต่อเนื่องนาน ๆ ครับ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดกับประชาชนหมู่มาก ในช่วงเวลาที่กำลังต่อสู้กับโรคระบาดนะครับ เพราะมันจะทำให้โอกาสติดโควิดของประชาชนสูงขึ้น และสถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไปอีก

 

เนื้อหาจากบทความโดยคุณ รศ. Jennifer J. Heisz ถ้าเรามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโควิดมาเกินไป จะส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสมากขึ้น https://theconversation.com/anxiety-about-coronavirus-can-increase-the-risk-of-infection-but-exercise-can-help-133427

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญมากที่บ้านเราจะต้องรีบทำ ก็แก้ปัญหาเรื่อง Visibility of System Status ให้ประชาชนให้มากที่สุดครับ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ประชาชนทั่วไปที่มีความกังวลเรื่องการติดโควิด สามารถได้ information เกี่ยวกับสถานะการติดโควิด ให้ทันท่วงทีที่สุด ซึ่ง Rapid Test ก็ดูจะเป็นหนึ่งใน solutions ที่ดีที่สุด ณ เวลานี้ ที่ควรต้องให้ประชาชนเข้าถึงได้เร็วที่สุด และราคาควรต้องถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย เพื่อให้คนทุกระดับในสังคมสามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศเราสามารถควบคุมการระบาดได้ดียิ่งขึ้นครับ


References:

https://www.nngroup.com/articles/visibility-system-status/ https://allwellhealthcare.com/rapid-test-covid-19/
https://theconversation.com/anxiety-about-coronavirus-can-increase-the-risk-of-infection-but-exercise-can-help-133427


pruxus

About us

We are a Bangkok, Thailand-based UX consulting agency that is passionate in helping our clients overcome their user experience challenges through our systematic user-centered design process.
We firmly believe that focusing on people first is the key to success for any business in the digital era.

Let’s talk

Whether you are looking for some help with UX challenges, want to get in touch with us, or just interested to learn more and request our portfolio, feel free to say hello to us!

Email us

hello@pruxus.com

Message us

 

Follow us